About palakorn

This author has not yet filled in any details.
So far palakorn has created 27 entries.

เกี่ยวกับสินค้าทนความร้อนอื่นๆ

• ด้ายทนความร้อนแบบเสริมลวดและไม่เสริมลวดต่างกันอย่างไร
A: ด้ายทนความร้อนแบบเสริมลวดจะมีเส้นลวดสแตนเลสเส้นเล็กๆมากกว่าหนึ่งเส้นตีเกลียวร่วมไปกับด้าย เพื่อให้ได้มีความเหนียวและทนต่อแรงดึงได้ดีขึ้น ที่สำคัญคือกรณีที่ด้ายละลายเพราะชิ้นงานมีอุณหภูมิสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ลวดที่ตีเกลียวจะยังอยู่และช่วยไม่ให้ชิ้นงานแตกหรือขาดออกจากกัน

• ตาข่ายสแตนเลสแบบทอสามารถทนอุณหภูมิได้สูงสุดเท่าไร
A: อุณหภูมิสูงสุดสำหรับตาข่ายสแตนเลสแบบทอของเรา มี 3 กลุ่มคือ 450 °C 650 °C และ 1,250 °C

เกี่ยวกับปลอกหุ้มสายทนความร้อน

• ปลอกหุ้มสายทนความร้อนทั่วไปมีความยาวมาตรฐานกี่เมตร
A: ปลอกหุ้มสายทนความร้อนจะมีความยาวที่สัมพันธ์กันกับขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางภายใน แต่โดยทั่วไปจะมีความยาวมาตรฐานต่อม้วนที่ 20 25 50 และ 100 เมตร

• ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำสุดและสูงสุดของปลอกหุ้มสายทนความร้อนอยู่ที่เท่าไร
A: ขึ้นอยู่กับประเภทของปลอกหุ้มสายทนความร้อน แต่ขนาดต่ำสุดของเส้นผ่าศูนย์กลางภายในที่ผลิตคือ 6 mm และสูงสุดคือ 100 mm

เกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน

• ฉนวนกันความร้อนที่เรียกว่า needle mat และ ฉนวนเซรามิคต่างกันอย่างไร
A: ฉนวนกันความร้อน needle mat ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยแก้วชนิดอี-กลาส ที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนต้านทานกระแสไฟฟ้าและมีความบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 98 มีความหนาแน่นเริ่มต้นที่ 160 กก/ลบ.ม. เทียบกับความหนาแน่นของฉนวนเซรามิคที่ 128 กก/ลบ.ม. ทำให้ฉนวน needle mat จัดทรงฉนวนได้สวยกว่าเมื่อนำไปใช้งานกับท่อหรือเครื่องจักร และฉนวน needle mat จะมีค่าการยุบตัวและเปลี่ยนรูปน้อยกว่าฉนวนเซรามิค เมื่อต้องปะทะความร้อนเป็นเวลานานๆ

• ทำไมประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรปจึงเลือกใช้ฉนวนกันความร้อน needle mat แทนฉนวนอื่น
A: เพราะฉนวนกันความร้อน needle mat ผลิตจากเส้นใยแก้วที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยโตกว่า 6 ไมครอน จึงทำให้ไม่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ต่างจากฉนวนแบบอื่นๆที่พบว่ามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยเล็กกว่า 6 ไมครอน ซึ่งนอกจากจะระคายเคืองผิวหนังแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อปอดและเยื่อบุหลอดลมด้วย

• ฉนวนกันความร้อน needle mat ต่างกับฉนวนใยแก้วใต้หลังคาบ้านอย่างไร
A: ฉนวนกันความร้อน needle mat ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาใช้กับงานอุตสาหกรรม เช่นท่อไอเสีย เทอร์โบ […]

เกี่ยวกับเทปกันความร้อน

• หน้ากว้างและความหนาของเทปกันความร้อน มีขนาดเท่าไรบ้าง
A: หน้ากว้างมาตรฐานของเทปกันความร้อนของเราคือ 20 25 30 40 50 60 70 80 90 และ 100 mm สำหรับความหนาที่มีก็ได้แก่ 2 mm 3 mm และ 4-5 mm

• เทปกันความร้อนต้องมีกาวสองหน้าอยู่ด้านหลังด้วยหรือไม่
A: เทปกันความร้อนที่มีกาวอยู่ด้านหลังส่วนใหญ่จะเป็นเทปในกลุ่มของ Thermo E-glass หรือผ้าเทปใยแก้ว ซึ่งมีขนาดมาตรฐานดังที่ได้ตอบไปในคำถามด้านบน ซึ่งเทปกันความร้อนแบบมีกาวอยู่ด้านหลังจะนิยมใช้กับงานที่ต้องการความสะดวกในการพันผ้าเทปหรือใช้ผ้าเทปเป็นตัวปิดทับฉนวนกันความร้อน เป็นต้น

เกี่ยวกับเชือกและปะเก็นทนความร้อน

• เชือกและปะเก็นทนความร้อน ทอมาจากเส้นใยอะไรบ้าง
A: เชือกและปะเก็นทนความร้อนของเราทอมาจากเส้นใยอรามิด เส้นใยแก้ว และเส้นใยแคลเซี่มซิลิเกต เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ให้เหมาะกับอุณหภูมิตั้งแต่ 300-1,000 °C• ขนาดเล็กสุดและใหญ่สุดของเชือกทนความร้อนอยู่ที่เท่าไร
A: ขนาดมาตรฐานเส้นผ่าศูนย์กลางของเชือกทนความร้อนขนาดเล็กสุดอยู่ที่ 3 mm และใหญ่สุดอยู่ที่ 60 mm โดยสามารถผลิตตามขนาดที่เล็กหรือใหญ่กว่านี้ได้ ตามที่ลูกค้าต้องการ

• ปะเก็นทนความร้อนสูงสุด 1,000 °C เป็นอุณหภูมิสูงสุดหรืออุณหภูมิต่อเนื่อง
A: ปะเก็นทนความร้อน 1,000 °C เป็นอุณหภูมิใช้งานต่อเนื่อง

เกี่ยวกับผ้ากันความร้อน

• ผ้ากันความร้อนสำหรับงานกันสะเก็ดไฟเชื่อม ควรใช้ผ้าตัวไหน
A: ผ้ากันความร้อนสำหรับงานกันสะเก็ดไฟเชื่อมควรใช้ผ้าในกลุ่ม G-Tec หรือกลุ่มของ high silica เช่น HS1250AR (ไม่เคลือบ) หรือ HS1250AR-Alufix (เคลือบสารกันไฟลามเพิ่ม 1 หน้า) ซึ่งทั้งสองกลุ่มที่ว่ามาจะมีคุณสมบัติต้านทานการเสียดสีได้ดีกว่าผ้ากันความร้อนธรรมดาทั่วไปสำหรับงานเชื่อม• ผ้ากันความร้อนที่นำมาตัดเย็บฉนวนกันความร้อนมีแบบไหนบ้าง
A: ผ้ากันความร้อนสำหรับงานฉนวนแบบถอดได้มีหลายประเภท แต่สามารถแยกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบเคลือบสารกันน้ำหรือสารเคมี (รวมทั้งแสง UV) และแบบไม่เคลือบ

• ผ้ากันความร้อนแบบไม่คัน มีแบบไหนบ้าง ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้เท่าไร
A: สำหรับผ้ากันความร้อนแบบไม่คัน ทางเรามีผ้าทอจากใยอรามิดหรือ ผ้า Hakamid® ที่ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้ 350 °C และไม่มีเส้นใยที่ก่อให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองต่อผิวหนังผู้ใช้งาน หรือจะเลือกใช้ผ้าใยแก้วเคลือบเทฟล่อนทั้งสองหน้าในกลุ่ม Thermo E-glass ก็ได้ มีอุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุด 260 °C

• ทำไมถึงต้องมีผ้ากันความร้อนแบบเสริมลวด
A: ผ้ากันความร้อนแบบเสริมลวด นิยมนำมาใช้กับงานที่มีการสั่นสะเทือนและมีความร้อนสูง เช่น turbo charger, steam หรือ gas turbine เพราะลวดสแตนเลสที่ทอร่วมกับเส้นใยของผ้าจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงด้านแรงดึง และช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าเมื่อต้องปะทะกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานานๆ

• […]

การเคลือบผ้าทนความร้อน

HTM600
• เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 600 °C
• เนื้อผ้าให้ความรู้สึกเนียนนุ่ม ฝุ่นจากใยผ้าน้อย
• เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า

CS
• เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 700 °C
• อุณหภูมิสูงสุดที่ทนความร้อนได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆคือ 750 °C
• เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า
• เลือกสีพิเศษตามความต้องการได้

HT90
• ปราศจากสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดกลิ่นและควันเมื่อสัมผัสกับความร้อน เคลือบสีขาวเพื่อให้ทนอุณภูมิสูงสุดได้ในระยะเวลาสั้นๆ สูงถึง 900 °C
• อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 750 °C
• เนื้อผ้าได้รับการทอให้มีลักณะแข็ง เพื่อความแข็งแรงในการใช้งานกลางแจ้ง

AR/FH1000
• ผ้าสีทองเคลือบสารป้องกันการเสียดสี ทนต่อแรงดึงและของมีคมได้ดีมาก
• อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุดถึง 1,000 °C

G-Tec/ G-Tec Ultra
• เพิ่มคุณสมบัติป้องกันการย้วยตัวของผ้า:
– ทนแรงเสียดสี ทนการกระชากลากถูได้อย่างดีเยี่ยม
– ทดสอบโดยวิธี Martindale (8 ชั่วโมง ที่ 650 °C) มากกว่า 8,000 รอบ
• ต้านทานการลามไฟ (ทดสอบโดยการลนไฟที่ขอบผ้าเป็นเวลานาน 30 วินาที […]

สินค้าทนความร้อนและฟอยล์แบบต่างๆ

ปะด้วยอลูมิเนียมฟอยล์และสแตนเลสสตีลฟอยล์
• เคลือบด้านเดียว เคลือบได้ทั้งผ้ากันความร้อนและฉนวนกันความร้อนนีดเดิ้ลแม็ท
• การเคลือบฟอยล์จะช่วยให้สินค้าทนต่อการเสียดสีและไม่หักงอง่าย
• การเคลือบฟอยล์ช่วยสะท้อนความร้อนแผ่ได้ดี (ขึ้นอยู่กับชนิดของฟอยล์ด้วย)
• อุณหภูมิใช้งานสูงสุดเมื่อฟอยล์ต้องปะทะความร้อนคือ 170 °C, และสูงกว่านั้นเมื่อฟอยล์ละลาย
• มีให้เลือกแบบฟอยล์ผิวเรียบ ลายนูน ลายโปร่ง และแบบเงากระจก

เคลือบผงอลูมิเนียมฟอยล์ (aluminized)
• เคลือบผงอลูมิเนียมฟอยล์ด้านเดียว
• ทำให้ผิวเรียบเนียนและยืดหยุ่นตัวได้ดี
• ช่วยให้ทนต่อการเสียดสีและการหักงอได้ดีขึ้น
• มีประสิทธิภาพดีในการสะท้อนความร้อนแผ่
• มีให้เลือกทั้งแบบผิวด้านและผิวเงากระจก

ปะด้วยโปลีเอสเตอร์ฟอยล์สีอลูมิเนียม
• มีให้เลือกแบบปะฟอยล์ด้านเดียวและแบบปะฟอยล์สองด้าน (ป้องกันไอน้ำซึมผ่านได้)
ที่ความหนาฟอยล์ 6 และ 12 ไมครอน
• มีคุณสมบัติในการช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี
• สามารถทนต่อฝุ่นละออง และมีคุณสมบัติไม่ให้อากาศไหลผ่าน
• อุณหภูมิสูงสุดที่ฟอยล์สามารถสัมผัสกับผิววัตถุโดยตรงได้คือ 180 °C ถึง 200 °C
• อุณหภูมิใช้งานที่แนะนำเมื่อฟอยล์ต้องสัมผัสกับความร้อนคือประมาณ 170 °C
และสูงกว่านั้นได้เมื่อฟอยล์ละลายแล้ว

ฟอยล์แบบมีกาวในตัว
• มีให้เลือกทั้งแบบกระดาษกาวและผ้ากาว
• มีความเหนียวและทนต่อแรงดึงรวมถึงของมีคมได้สูงขึ้น
• ช่วยไม่ให้เส้นใยหรือผ้าที่เคลือบหลุดลุ่ยออกมาง่าย
• เหมาะสำหรับงานพันท่อหรืองานติดตั้งที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วสูงสุด
• เหมาะทั้งสำหรับผ้าทนความร้อนและฉนวนกันความร้อน
• สามารถสั่งผลิตตามระดับอุณหภูมิที่ลูกค้าต้องการนำไปใช้งานได้

ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคน

คุณสมบัติทั่วไป
• เคลือบได้ทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ตามความหนาและน้ำหนักที่ลูกค้าต้องการ
• มีคุณสมบัติทนต่อรังสียูวีหรือแสงแดด และแสงจากหลอดไฟได้ในระดับดี
• มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมีที่เป็นกรดและด่างในระดับพอใช้
• ต้านทานกระแสไฟฟ้า ป้องกันน้ำมันและคราบสกปรกได้ในระดับดีประเภทของซิลิโคนที่นำมาเคลือบผ้ากันความร้อน
1. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบมาตรฐาน
– ระดับอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ -50°C ถึง +250°C
– มีความยืดหยุ่นในระดับดีมาก
– สามารถเลือกเคลือบได้หลายเฉดสี (มาตรฐานคือสีเทา)

2. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบใส
– เคลือบซิลิโคนใสหน้าเดียว (เห็นลายผ้า)
– เคลือบแบบมันวาวหรือแบบด้าน
– เคลือบแบบผิวเรียบหรือแบบผิวหยาบ

3. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบทนอุณหภูมิสูง
– ระดับอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ -50°C ถึง +300°C
– ทนอุณหภูมิสูงสุดได้ประมาณ 1 ชั่วโมงที่ระดับ 350°C
– สามารถเลือกเคลือบได้หลายเฉดสี (มาตรฐานคือสีเทา)

ผ้ากันความร้อนชนิดต่างๆ‏

สินค้าทนความร้อน มีให้เลือกมากมายหลายชนิด ตั้งแต่เทปพันกันความร้อน ผ้ากันความร้อน ฉนวนกันความร้อน ท่อร้อยสายไฟ
ไปจนถึงผลิตภัณฑ์กันความร้อนที่ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับเครื่องหมายการค้าของเรานั้นจะถูกแยกประเภทไว้ดังนี้• Hakamid®, Hakanit®
เป็นสินค้าที่ผลิตหรือทอขึ้นมาจากเส้นใยอรามิด หรือถักทอร่วมกับเส้นใยอื่นได้ๆตามความต้องการและวัตถุประสงค์การใช้งานของลูกค้า
ส่วนใหญ่ใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน 350°C• Thermo E-Glass
สินค้าทนความร้อนในหมวดนี้จะทอขึ้นมาจากเส้นใยแก้วชนิด E-Glass ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านทานกระแสไฟฟ้า มีราคาไม่สูง
ใช้งานได้หลากหลายที่อุณหภูมิต่อเนื่องไม่เกิน 550°C• Hakotherm®-800, Silontex®
ผลิตภัณฑ์กันความร้อนในหมวดนี้ผลิตจากเส้นใยแคลเซี่ยม-ซิลิเกตที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 ไมครอน สามารถต้านทาน
โลหะเหลวร้อนๆได้เป็นอย่างดีที่อุณหภูมิไม่เกิน 750°C

• Hakotherm®-1200, Silicatherm®
สินค้าในกลุ่มนี้จะถูกผลิตหรือทอขึ้นจากเส้นใยซิลิก้า ซึ่งสามารถทนต่อความร้อนต่อเนื่องได้สูงถึงประมาณ 1,000°C จึงเหมาะสำหรับ
งานผ้าใบกันสะเก็ดไฟหรืองานกันความร้อนในโรงหลอมโลหะ

• Silicatex®
เป็นสินค้ากันความร้อนที่ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยซิลิก้าที่มีความบริสุทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98.9 (SiO2 content approx.98.9%)
ทำให้ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้สูงถึง 1,200°C

Copyright © 2019 NTIHEATPROTECTION.COM