คาร์บอนเครดิตช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อย่างไร

       ปัจจุบันเรากำลังเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ หรือภาวะโลกร้อนซึ่งทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยผลกระทบดังกล่าว สาเหตุหลักเกิดจากการกระทำของมนุษย์ ผลของการสร้างเครื่องมือเครื่องจักร พร้อมทั้งการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เพี่อการขับเคลื่อนทางเศษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เกิดการสะสมในชั้นบรรยากาศ และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
        คาร์บอนเครดิต  คือ สิทธิที่ได้รับอนุญาตให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสร้างขึ้นได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้ จัดตั้งขึ้นเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้สภาพแวดล้อมถูกทำลาย เกิดภาวะโลกร้อน และยังส่งผลต่อมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่บนโลก เช่น อุณหภูมิที่สูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว ทำให้ระดับน้ำทะเล สูงขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาอุทกภัยในหลายประเทศ นอกจากนี้ยังทำให้สิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทางทะเลเสียหาย จากฤดูกาลหรือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
       คาร์บอนเครดิต จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซเรือนกระจก โดยคาร์บอนเครดิต สามารถวัดค่าหน่วยออกมาได้เป็นตัน และแปลงมาเป็นคาร์บอนเครดิต มีการนำคาร์บอนเครดิตมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยการนำสินค้าที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิตมาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยน เรียกว่า ตลาดคาร์บอน
ตลาดคาร์บอนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ตลาดคาร์บอนภาคบังคับ

ถูกจัดตั้งขึ้นจากมาตรการบังคับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกฎหมาย โดยมีกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นมาตรฐานกำหนดหลักเกณฑ์ ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ออกกฎหมายและกำกับดูแลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยผู้ที่เข้าร่วมในตลาดจะต้องมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีผลผูกพันตามกฎหมาย (Legally […]

จะเกิดอะไรขึ้น หากพลังงานสูญสิ้นไปจากโลก

ภาวะวิกฤตด้านพลังงานมีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นเรื่องที่กำลังถูกกล่าวถึงมากที่สุด ทรัพยากรน้ำมันที่เหลืออยู่บนโลก มีปริมาณน้อยลงไปทุกที ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้จะเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
การที่จะแก้ไขปัญหาด้านพลังงานที่มีอยู่จำกัดนี้ได้ คือ การนำพลังงานทดแทนไปใช้ประโยชน์ เช่นนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่าย และลดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมของโลก กล่าวได้ว่า พลังงานทดแทนเป็นพลังงานที่สามารถนำไปใช้ทดแทนพลังงานรูปแบบเดิมได้อย่างไม่มีขีดจำกัด
พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง มี 2 ประเภท ได้แก่ พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนกลับมาใช้ได้อีกเรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวภาพ และน้ำ เป็นต้น เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุด เป็นพลังงานที่สะอาดไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยส่วนใหญ่จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่น การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์
พลังงานลม เป็นพลังงานจากธรรมชาติ ที่สะอาดและบริสุทธิ์ ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลก เช่น กังหันลม เป็นอุปกรณ์ที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้เป็นประโยชน์ได้ โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำ
พลังงานน้ำ การผลิตพลังงานจากน้ำ หรือเรียกว่า การกักเก็บน้ำไว้ในเขื่อน แล้วเปิดประตูน้ำให้น้ำไหลออกมาเพื่อหมุนใบพัด […]

อนุรักษ์พลังงานระดับสากล เพื่อช่วยโลกอย่างยั่งยืน

เมื่อทุกอย่างบนโลกล้วนขับเคลื่อนด้วยพลังงาน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นหากพลังงานหมดโลก? ปัญหาด้านพลังงานของไทย คือ ผลิตพลังงานได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ส่งผลให้งบประมาณด้านพลังงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีปัญหาเกี่ยวกับมลพิษที่เกิดจากการบริหารจัดการผลิตไม่ถูกวิธี และอีกมากมายที่อยู่รอบตัว ซึ่งส่งสัญญาณเตือนให้เราแก้ปัญหาอยู่ตลอดเวลา
พลังงานเป็นพื้นฐานสำคัญของทุกชีวิต การอนุรักษ์พลังงานจึงเป็นทางหนึ่งที่ “ทุกคน” ควรจะทำ ถึงแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่เมื่อมีหนึ่งคนทำ ขยายไปเป็นระดับองค์กร ย่อมส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประเทศอย่างแน่นอน
“การอนุรักษ์พลังงาน” คือ การผลิตและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดการอนุรักษ์พลังงานนอกจากจะช่วยลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นการประหยัด ค่าใช้จ่ายในกิจการแล้ว ยังจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากแหล่งที่ใช้และผลิตพลังงานด้วย
“พลังงาน” เป็นเรื่องสำคัญสำหรับมนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนบนโลกนี้ พลังงานมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นพลังงานจากน้ำมัน พลังงานน้ำ พลังงานไฟฟ้า หรือกระทั่งจากถ่านหิน ยิ่งในยุคปัจจุบันนี้แล้ว ความต้องการในการใช้พลังงาน ยิ่งมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกๆ ปี ตามจำนวนประชากร และการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ความต้องการในการใช้พลังงาน ก็จะสวนทางกับปริมาณของพลังงาน ที่เริ่มจะลดน้อยลง และมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น การประหยัดพลังงาน และการรู้จักใช้อย่างรู้คุณค่า จึงเป็นสิ่งที่ทุกหน่วยในสังคม มีความจำเป็นต้องช่วยกันอย่างเต็มที่ เพื่อให้พลังงานมีเพียงพอที่จะใช้ต่อไปในอนาคต จนกว่าจะสามารถหา หรือพัฒนาพลังงานรูปแบบอื่นๆ มาทดแทนพลังงานที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ โดยเฉพาะการพัฒนาพลังงานสะอาด อย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือ พลังงานลม ให้สามารถใช้งานได้มากขึ้น จนเป็นพลังงานหลักได้
พลังงานมีจำกัด […]

การเคลือบผ้าทนความร้อน

HTM600
• เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 600 °C
• เนื้อผ้าให้ความรู้สึกเนียนนุ่ม ฝุ่นจากใยผ้าน้อย
• เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า

CS
• เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 700 °C
• อุณหภูมิสูงสุดที่ทนความร้อนได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆคือ 750 °C
• เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า
• เลือกสีพิเศษตามความต้องการได้

HT90
• ปราศจากสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดกลิ่นและควันเมื่อสัมผัสกับความร้อน เคลือบสีขาวเพื่อให้ทนอุณภูมิสูงสุดได้ในระยะเวลาสั้นๆ สูงถึง 900 °C
• อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 750 °C
• เนื้อผ้าได้รับการทอให้มีลักณะแข็ง เพื่อความแข็งแรงในการใช้งานกลางแจ้ง

AR/FH1000
• ผ้าสีทองเคลือบสารป้องกันการเสียดสี ทนต่อแรงดึงและของมีคมได้ดีมาก
• อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุดถึง 1,000 °C

G-Tec/ G-Tec Ultra
• เพิ่มคุณสมบัติป้องกันการย้วยตัวของผ้า:
– ทนแรงเสียดสี ทนการกระชากลากถูได้อย่างดีเยี่ยม
– ทดสอบโดยวิธี Martindale (8 ชั่วโมง ที่ 650 °C) มากกว่า 8,000 รอบ
• ต้านทานการลามไฟ (ทดสอบโดยการลนไฟที่ขอบผ้าเป็นเวลานาน 30 วินาที […]

สินค้าทนความร้อนและฟอยล์แบบต่างๆ

ปะด้วยอลูมิเนียมฟอยล์และสแตนเลสสตีลฟอยล์
• เคลือบด้านเดียว เคลือบได้ทั้งผ้ากันความร้อนและฉนวนกันความร้อนนีดเดิ้ลแม็ท
• การเคลือบฟอยล์จะช่วยให้สินค้าทนต่อการเสียดสีและไม่หักงอง่าย
• การเคลือบฟอยล์ช่วยสะท้อนความร้อนแผ่ได้ดี (ขึ้นอยู่กับชนิดของฟอยล์ด้วย)
• อุณหภูมิใช้งานสูงสุดเมื่อฟอยล์ต้องปะทะความร้อนคือ 170 °C, และสูงกว่านั้นเมื่อฟอยล์ละลาย
• มีให้เลือกแบบฟอยล์ผิวเรียบ ลายนูน ลายโปร่ง และแบบเงากระจก

เคลือบผงอลูมิเนียมฟอยล์ (aluminized)
• เคลือบผงอลูมิเนียมฟอยล์ด้านเดียว
• ทำให้ผิวเรียบเนียนและยืดหยุ่นตัวได้ดี
• ช่วยให้ทนต่อการเสียดสีและการหักงอได้ดีขึ้น
• มีประสิทธิภาพดีในการสะท้อนความร้อนแผ่
• มีให้เลือกทั้งแบบผิวด้านและผิวเงากระจก

ปะด้วยโปลีเอสเตอร์ฟอยล์สีอลูมิเนียม
• มีให้เลือกแบบปะฟอยล์ด้านเดียวและแบบปะฟอยล์สองด้าน (ป้องกันไอน้ำซึมผ่านได้)
ที่ความหนาฟอยล์ 6 และ 12 ไมครอน
• มีคุณสมบัติในการช่วยสะท้อนความร้อนได้ดี
• สามารถทนต่อฝุ่นละออง และมีคุณสมบัติไม่ให้อากาศไหลผ่าน
• อุณหภูมิสูงสุดที่ฟอยล์สามารถสัมผัสกับผิววัตถุโดยตรงได้คือ 180 °C ถึง 200 °C
• อุณหภูมิใช้งานที่แนะนำเมื่อฟอยล์ต้องสัมผัสกับความร้อนคือประมาณ 170 °C
และสูงกว่านั้นได้เมื่อฟอยล์ละลายแล้ว

ฟอยล์แบบมีกาวในตัว
• มีให้เลือกทั้งแบบกระดาษกาวและผ้ากาว
• มีความเหนียวและทนต่อแรงดึงรวมถึงของมีคมได้สูงขึ้น
• ช่วยไม่ให้เส้นใยหรือผ้าที่เคลือบหลุดลุ่ยออกมาง่าย
• เหมาะสำหรับงานพันท่อหรืองานติดตั้งที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วสูงสุด
• เหมาะทั้งสำหรับผ้าทนความร้อนและฉนวนกันความร้อน
• สามารถสั่งผลิตตามระดับอุณหภูมิที่ลูกค้าต้องการนำไปใช้งานได้

ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคน

คุณสมบัติทั่วไป
• เคลือบได้ทั้งหน้าเดียวและสองหน้า ตามความหนาและน้ำหนักที่ลูกค้าต้องการ
• มีคุณสมบัติทนต่อรังสียูวีหรือแสงแดด และแสงจากหลอดไฟได้ในระดับดี
• มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมีที่เป็นกรดและด่างในระดับพอใช้
• ต้านทานกระแสไฟฟ้า ป้องกันน้ำมันและคราบสกปรกได้ในระดับดีประเภทของซิลิโคนที่นำมาเคลือบผ้ากันความร้อน
1. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบมาตรฐาน
– ระดับอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ -50°C ถึง +250°C
– มีความยืดหยุ่นในระดับดีมาก
– สามารถเลือกเคลือบได้หลายเฉดสี (มาตรฐานคือสีเทา)

2. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบใส
– เคลือบซิลิโคนใสหน้าเดียว (เห็นลายผ้า)
– เคลือบแบบมันวาวหรือแบบด้าน
– เคลือบแบบผิวเรียบหรือแบบผิวหยาบ

3. ผ้ากันความร้อนเคลือบซิลิโคนแบบทนอุณหภูมิสูง
– ระดับอุณหภูมิใช้งานตั้งแต่ -50°C ถึง +300°C
– ทนอุณหภูมิสูงสุดได้ประมาณ 1 ชั่วโมงที่ระดับ 350°C
– สามารถเลือกเคลือบได้หลายเฉดสี (มาตรฐานคือสีเทา)

ผ้ากันความร้อนชนิดต่างๆ‏

สินค้าทนความร้อน มีให้เลือกมากมายหลายชนิด ตั้งแต่เทปพันกันความร้อน ผ้ากันความร้อน ฉนวนกันความร้อน ท่อร้อยสายไฟ
ไปจนถึงผลิตภัณฑ์กันความร้อนที่ใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล สำหรับเครื่องหมายการค้าของเรานั้นจะถูกแยกประเภทไว้ดังนี้• Hakamid®, Hakanit®
เป็นสินค้าที่ผลิตหรือทอขึ้นมาจากเส้นใยอรามิด หรือถักทอร่วมกับเส้นใยอื่นได้ๆตามความต้องการและวัตถุประสงค์การใช้งานของลูกค้า
ส่วนใหญ่ใช้กับอุณหภูมิไม่เกิน 350°C• Thermo E-Glass
สินค้าทนความร้อนในหมวดนี้จะทอขึ้นมาจากเส้นใยแก้วชนิด E-Glass ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านทานกระแสไฟฟ้า มีราคาไม่สูง
ใช้งานได้หลากหลายที่อุณหภูมิต่อเนื่องไม่เกิน 550°C• Hakotherm®-800, Silontex®
ผลิตภัณฑ์กันความร้อนในหมวดนี้ผลิตจากเส้นใยแคลเซี่ยม-ซิลิเกตที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า 6 ไมครอน สามารถต้านทาน
โลหะเหลวร้อนๆได้เป็นอย่างดีที่อุณหภูมิไม่เกิน 750°C

• Hakotherm®-1200, Silicatherm®
สินค้าในกลุ่มนี้จะถูกผลิตหรือทอขึ้นจากเส้นใยซิลิก้า ซึ่งสามารถทนต่อความร้อนต่อเนื่องได้สูงถึงประมาณ 1,000°C จึงเหมาะสำหรับ
งานผ้าใบกันสะเก็ดไฟหรืองานกันความร้อนในโรงหลอมโลหะ

• Silicatex®
เป็นสินค้ากันความร้อนที่ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยซิลิก้าที่มีความบริสุทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98.9 (SiO2 content approx.98.9%)
ทำให้ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้สูงถึง 1,200°C

Copyright © 2019 NTIHEATPROTECTION.COM