• ผ้ากันความร้อนสำหรับงานกันสะเก็ดไฟเชื่อม ควรใช้ผ้าตัวไหน
A: ผ้ากันความร้อนสำหรับงานกันสะเก็ดไฟเชื่อมควรใช้ผ้าในกลุ่ม G-Tec หรือกลุ่มของ high silica เช่น HS1250AR (ไม่เคลือบ) หรือ HS1250AR-Alufix (เคลือบสารกันไฟลามเพิ่ม 1 หน้า) ซึ่งทั้งสองกลุ่มที่ว่ามาจะมีคุณสมบัติต้านทานการเสียดสีได้ดีกว่าผ้ากันความร้อนธรรมดาทั่วไปสำหรับงานเชื่อม• ผ้ากันความร้อนที่นำมาตัดเย็บฉนวนกันความร้อนมีแบบไหนบ้าง
A: ผ้ากันความร้อนสำหรับงานฉนวนแบบถอดได้มีหลายประเภท แต่สามารถแยกได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ แบบเคลือบสารกันน้ำหรือสารเคมี (รวมทั้งแสง UV) และแบบไม่เคลือบ
• ผ้ากันความร้อนแบบไม่คัน มีแบบไหนบ้าง ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้เท่าไร
A: สำหรับผ้ากันความร้อนแบบไม่คัน ทางเรามีผ้าทอจากใยอรามิดหรือ ผ้า Hakamid® ที่ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้ 350 °C และไม่มีเส้นใยที่ก่อให้เกิดอาการคันหรือระคายเคืองต่อผิวหนังผู้ใช้งาน หรือจะเลือกใช้ผ้าใยแก้วเคลือบเทฟล่อนทั้งสองหน้าในกลุ่ม Thermo E-glass ก็ได้ มีอุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุด 260 °C
• ทำไมถึงต้องมีผ้ากันความร้อนแบบเสริมลวด
A: ผ้ากันความร้อนแบบเสริมลวด นิยมนำมาใช้กับงานที่มีการสั่นสะเทือนและมีความร้อนสูง เช่น turbo charger, steam หรือ gas turbine เพราะลวดสแตนเลสที่ทอร่วมกับเส้นใยของผ้าจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงด้านแรงดึง และช่วยยืดอายุการใช้งานของผ้าเมื่อต้องปะทะกับอุณหภูมิสูงเป็นเวลานานๆ
• […]