ในโรงงานอุตสาหกรรม ความร้อนกับการทำงาน เป็นสิ่งที่พนักงานหรือลูกจ้างต้องเผชิญและสัมผัสกับความร้อนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งอันตรายจากความร้อนในการทำงานนั้น เมื่อร่างกายเราได้รับความร้อน จะมีการถ่ายเทความร้อนออกไปเพื่อรักษาสมดุลของอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งปกติอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของระบบควบคุมความร้อนได้จะเกิดความผิดปกติและเจ็บป่วย ลักษณะอาการและความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เช่น มีภาวะขาดน้ำ อ่อนเพลีย เป็นลม และมีอาการเป็นตะคริว
แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ…? เพื่อหาแนวทางป้องกันให้ลูกจ้างปฏิบัติงานกับความร้อนได้อย่างปลอดภัย ไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากความร้อน และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิต วันนี้เรามีแนวทางป้องกันอันตรายจากความร้อน ด้วยการประเมินความระดับร้อนให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน จะเป็นอย่างไรนั้น เรามาดูไปพร้อมๆกันเลยค่ะ
การประเมินระดับความร้อนให้เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน
ตามกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2559
ความหนัก-เบาของงาน หมายความว่า การใช้พลังงานของร่างกายหรือใช้กําลังงานที่ทำใหเกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเพื่อใช้ปฏิบัติงาน การจําแนกความหนัก-เบาของลักษณะการทำงานออกเป็น 3 ระดับ (ตามกฎกระทรวงฯเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ.2549) โดยคํานวณการใช้พลังงาน ดังนี้
- “งานเบา” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงน้อยหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายไม่เกิน 200 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง
ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานเบา
- นั่งทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวของแขน-ขาปานกลาง เช่น งานสำนักงาน งานเขียนหนังสือ งานพิมพ์ดีด งานบันทึกข้อมูล งานนั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ งานประกอบชิ้นงานขนาดเล็ก ตรวจสอบ/ประกอบชิ้นส่วนวัสดุเบา เย็บปักถักร้อย
- ยืนทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวของลำตัวเล็กน้อย เช่น ควบคุมเครื่องจักร บรรจุวัสดุน้ำหนักเบา งานบังคับเครื่องจักรด้วยเท้า การใช้เครื่องมือกล/เครื่องทุ่นแรงขนาดเล็ก
- เดินด้วยความเร็วไม่เกิน 2 ไมล์/ชั่วโมง (2 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เช่น เดินตรวจงาน หรือเดินส่งเอกสารจำนวนเล็กน้อย
2.“งานปานกลาง” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงปานกลางหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 201 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง ถึง 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง
ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานปานกลาง
- นั่งทำงานโดยมีการเคลื่อนไหวหรือใช้กำลังแขน – ขาค่อนข้างมาก เช่น นั่ง ควบคุมปันจั่น เครน หรือเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ในงานก่อสร้าง ประกอบ/ บรรจุวัสดุที่มีน้ำหนักค่อนข้างมาก ขับรถบรรทุกขนาดใหญ่
- ยืน/เคลื่อนไหวลําตัวขณะทำงาน เช่น ยกของที่มีน้ำหนักปานกลาง ลาก-ดึง รถเข็นวัสดุที่มีล้อเลื่อน ทำงานในห้องเก็บของ ยืนตอกตะปูใช้เครื่องมือกลขนาดปานกลาง ยืนป้อนชิ้นงาน การขัดถูทำความสะอาด รีดผ้า
- เดินด้วยความเร็ว 2-3 ไมล์/ชั่วโมง (2 – 4.8กิโลเมตร/ชั่วโมง ) หรือเดิน โดยมีการถือวัสดุที่น้ำหนักไม่มากเช่น เดินส่งเอกสารหรือห่อวัสดุสิ่งของ
- “งานหนัก” หมายความว่า ลักษณะงานที่ใช้แรงมากหรือใช้กําลังงานที่ทำให้เกิดการเผาผลาญอาหารในร่างกายเกิน 350 กิโลแคลอรีต่อชั่วโมง
ตัวอย่างกิจกรรมและการปฏิบัติงาน ตามระดับของงานหนัก
- ทำงานที่มีการเคลื่อนไหวลำตัวมาก/อย่างเร็ว หรือต้องมีการออกแรงมาก เช่น ลาก ดึง หรือยกของที่มีน้ำหนักมาก (> 20 kg) งานที่ใช้พลั่วตักหรือเครื่องมือลักษณะคล้ายกับงานขุด งานเลื่อยไม้ ขุดหรือเซาะดิน/ทราย งานเจาะไม้เนื้อแข็ง งานทุบโดยใช้ค้อนขนาดใหญ่ งานยก หรือเคลื่อนย้ายของหนัก ขึ้นที่สูงหรือที่ลาดชัน งานคุ้ยตะกรันในเตาหลอม งานแกะสลักโลหะหรือหิน การขัดถูพื้นหรือพรมที่สกปรกมากๆ งานก่อสร้างและงานหนักที่ต้องปฏิบัติกลางแจ้ง
- เดินเร็วๆ หรือวิ่งด้วยความเร็วมากกว่า 3 ไมล์/ชั่วโมง (8กิโลเมตร/ชั่วโมง )
ประเภทของอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่อความร้อนในการทำงาน
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบกิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.2546 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการ ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องทำการตรวจวัดความร้อนกำหนดไว้ ได้แก่
-โรงงานผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว หรือการทำให้บริสุทธิ์
-โรงงานสิ่งทอที่ทำการฟอก ย้อมสี หรือแต่งสำเร็จด้ายหรือสิ่งทอ
-โรงงานผลิตเยื่อกระดาษจากไม้หรือวัสดุอื่น การทำกระดาษ กระดาษแข็ง
-โรงงานผลิต ซ่อม หล่อ หรือหล่อดอกยางนอก ยางใน
-โรงงานผลิตแก้ว เส้นใยแก้ว
-โรงงานทำซีเมนต์ปูนขาว ปูนปลาสเตอร์
-โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการถลุง ผสมทำให้บริสุทธิ์หลอม หล่อ รีด ดึง หรือผลิตโลหะขั้นต้น
-กิจการที่มีแหล่งกำเนิดความร้อนหรือมีการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายเนื่องจากความร้อน
บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด (NTi) ผู้เชี่ยวชาญด้านฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้สำหรับใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมให้คำแนะนำด้านการควบคุมความร้อนและรักษาระดับความร้อนในสถานประกอบกิจการ ให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้แหล่งความร้อนมีความปลอดภัย ด้วยฉนวนกันความร้อน “ZAVE” ซึ่งเป็นวิธีการควบคุมความร้อนที่แหล่งกำเนิด เช่น การใช้ฉนวนหุ้มฮีทเตอร์ เตาอบ ท่อน้ำร้อน หม้อไอน้ำ ท่อนําอากาศของระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ช่วยลดการแผ่รังสีความร้อน และช่วยให้ปลอดภัยต่อตัวผู้ปฏิบัติงานด้วยค่ะ
ขอบคุณที่มา : เนื้อหาบางส่วนจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549
: เนื้อหาบางส่วนจากคู่มือการใช้เครื่องมืออาชีวสุขศาสตร์พื้นฐาน สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2565 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ โดย บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด
ห้ามมิให้คัดลอกหรือดัดแปลงก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
(Copyright © 2022 by Newtech Insulation Ltd. All rights Reserved.)
มีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือปรึกษาที่
Tel: 0-2583-7084 ; 0-2583-8035
Email: contact@newtechinsulation.com
Website: www.newtechinsulation.com
www.ntiheatprotection.com
www.ติดตั้งฉนวนกันความร้อน.com
Line: @newtechinsulation
Facebook: Newtech Thai