ฉนวนกันความร้อนโรงงาน ติดตั้งฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้
ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน แตกต่างกันอย่างไร!

ฉนวนกันความร้อน” โดยส่วนใหญ่จะนึกถึง ฉนวนที่เรารู้จักกันในบ้านเรือน เช่น ฉนวนหลังคาบ้าน เพื่อกันความร้อนของที่พักอาศัย แต่จะมีสักกี่คน ที่จะได้รู้ว่า ฉนวนกันความร้อน ยังมีหลายประเภท เช่น ฉนวนกันความร้อนของเครื่องจักร ฉนวนกันความร้อนเครื่องยนต์ ฉนวนกันความร้อนใยหิน ฉนวนกันความร้อนเซรามิค ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ การเลือกฉนวนกันความร้อนมาใช้งาน จะเลือกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เลือกตามอุณหภูมิที่ใช้ในการลดความร้อน เช่น ในเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจาก ฉนวนที่ใช้ตามบ้านเรือน นอกจากนี้ คุณภาพของฉนวน ยังแตกต่างกันอีกตามการใช้งาน หลายคนคงสงสัยว่า แล้วที่ว่า “ฉนวนกันความร้อนในโรงงาน คุณภาพสูง” จะรู้ได้อย่างไร ว่า คุณภาพสูง จะส่งผลให้การใช้งานได้ดีกว่า ฉนวนทั่วๆไป หรือจะสูงเพียงแค่ราคาที่นำเสนอเท่านั้น แล้วที่ว่านี้ โรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ ฉนวนกันความร้อน อย่างไร ถึงจะคุ้มค่า คุ้มราคา และเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ จึงขอนำเสนอบางประเด็น ที่มีนัยสำคัญ ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ ฉนวนกันความร้อน มาฝากผู้อ่านทุกท่านครับ

ฉนวนกันความร้อน หากจะแบ่งออกอย่างกว้างๆ จะแบ่งตามการนำมาใช้งาน ได้ 2 ประเภท คือ ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน และ ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง

1. ฉนวนกันความร้อนโรงงาน จะเป็นฉนวนกันความร้อนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูง ส่วนใหญ่ มากกว่า 100 องศาเซลเซียส จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส โดยส่วนใหญ่ ฉนวนในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ฉนวนใยหิน ฉนวนเซรามิค และฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ ซึ่งฉนวนทั้งสามประเภทนี้ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

– ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จะเป็นฉนวนที่มีความหนาแน่นอยู่ที่ 140k , 180k ซึ่งฉนวนดังกล่าว จะเป็นฉนวนที่ไม่มีน้ำยาอื่นผสมอยู่ จึงทำให้ความคงทนของฉนวนอยู่ได้นาน ใช้งานได้หลายสิบปี คงรูปร่างได้ดี กันความร้อนได้ดี จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส สามารถถอดติดตั้ง ประกอบได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย ถึงแม้จะมีราคาที่แพงมากกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ แต่ใช้งานได้คุ้มค่า กับการป้องกันความร้อนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้มข้นของฉนวน ที่อัดแน่น ทำให้การคงรูปร่างได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ เมื่อติดตั้งจะแลดูสวยงาม เป็นระเบียบ และป้องกันเสียงเครื่องจักรได้ดี ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ

ฉนวนกันความร้อนรีโฟว์โชเดอร์

– ฉนวนกันความร้อนใยหิน เป็นฉนวนที่มีราคาถูก มีส่วนประกอบของใยหิน เมื่อติดตั้ง ต้องมีสังกะสีครอบ อายุของฉนวน 5-10 ปี แต่ต้องการดูแลรักษาเพิ่ม เพราะหากฉนวนถูกน้ำ หรือความร้อนที่มากกว่า 750 องศาเซลเซียส จะทำให้ฉนวนเกิดการยุบตัว และไม่สามารถป้องกันความร้อนจากเครื่องจักรได้ เนื่องจากว่ามีสังกะสีครอบอยู่ จึงทำให้ผู้ประกอบการ มองไม่เห็นการยุบตัวของฉนวนใยหิน ยกเว้นทำการตรวจเชคด้วยเครื่องมือ สำหรับตรวจเชคความร้อนเครื่องจักร จึงจะทำให้รู้ว่า ฉนวนใยหินเกิดการสึกหรอ และประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลง นอกจากนี้ สารเคมีจากใยหิน อาจส่งผลการทบต่อสุขภาพของคนงานได้

– ฉนวนกันความร้อนเซรามิค เป็นฉนวนกันความร้อนที่ป้องกันความร้อนได้ดี ถึง 1,200 องศาเซลเซียส ราคาถูกกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ อายุการใช้งาน 5-10 ปี แต่ต้องระวังเรื่องการทรงรูปร่างของฉนวนที่หุ้มเครื่องจักร เนื่องจากฉนวนเซรามิค จะมีความหนาแน่นของฉนวนน้อยกว่า ความทรงรูปร่างจะบอบบางกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จึงต้องคอยระวังรักษาในเรื่องการดูแลเป็นพิเศษ มากกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ที่การทรงตัวจะดีกว่า

2. ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน จะเป็นฉนวนกันความร้อน ที่ป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศแวดล้อม ซึ่งมีความร้อนไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส (ปกติประมาณ 30 – 60 องศาเซลเซียส) โดยส่วนใหญ่ จะมีความหนาแน่นของฉนวน อยู่ที่ 24k ,48k และ 60k อายุของฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือนส่วนใหญ่ 5 – 10 ปี แต่ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย เช่น หลังคาต้องไม่รั่ว ไม่มีหนูหรือแมลงไปกัด ทำลาย


ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ควรจะพิจารณาในการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ในโรงงานอุตสาหกรรม ถึงความคุ้มค่า การดูแลรักษา ประสิทธิภาพของฉนวน ราคาของฉนวน ทั้งนี้ก็ขึ้นกับงบประมาณของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆด้วย การพิจารณาถึงการใช้งานในระยะยาว ผลกระทบต่างๆ การดูแลรักษาในระยะยาว ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจ และเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนโรงงานได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น